วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การใช้สระ ใ- ไ- -อัย ไ-ย

                           ๑. การใช้สระ  - ( ไม้ม้วน )  ใช้เขียนคำไทยแท้เพียง ๒๐ คำ  ดังนี้
                            ใกล้  ใคร  ใคร่  (จิต)ใจ  ใช่  ใช้  (สิ่ง)ใด  (ข้าง)ใต้  (ด้าน)ใน  ใบ  ใบ้  ใฝ่  สะใภ้  (เยื่อ)ใย  (สด)ใส  ใส่  (มอบ)ให้  ใหญ่  ใหม่  (หลง)ใหล

                            บทกลอนช่วยจำคำที่ใช้สระ 
                                       ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                               ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
                                            ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ                                      มิหลงใหลใครขอดู
                                                    จะใคร่ลงเรือใบ                            ดูน้ำใสและปลาปู
                                            สิ่งใดอยู่ในตู้                                         มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
                                                    บ้าใบ้ถือใยบัว                               หูตามัวมาใกล้เคียง
                                            เล่าท่องอย่าละเลี่ยง                             ยี่สิบม้วนจำจงดี



                  ๒. การใช้สระ ไ- ( ไม้มลาย ) 
                            ๑) ใช้เขียนคำไทยทั่วไปนอกเหนือจาก ๒๐ คำ (ในข้อ ๑)  เช่น  ไกล  ไข  ตะไคร่  ไจ (ไหม)  ตะไบ  ผลักไส  ร้องไห้  ไหม้  เหลวไหล  บันได  ลำไย  ไต้ (ไฟ)  ฯลฯ
                            ๒) ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด  เช่น  ไดนาโม  แม่น้ำไนล์  ไนลอน (nylon)  ไต้ฝุ่น (typhoon)  ไพศาล  ไมล์ (mile)  ไต้ก๋ง  เจียระไน (ภาษาทมิฬ)  ฯลฯ
                            ๓) คำที่มาจากภาษาเขมรใช้  -  ทั้งหมด  เช่น  ไถง  ไข  สไบ  ไผท  ได  ฯลฯ 

                  ๓. การใช้สระ อัย
                            ๑) ใช้เขียนคำบาลีสันสกฤตซึ่งมีเสียง  อะ  และ    ตาม  เช่น
                                    ชัย (ชนะ)        มาจาก            ชย                           ภัย                  มาจาก            ภย
                                    ขัย                   มาจาก            ขย                           มาลัย              มาจาก            มาลย
                                    วินัย                 มาจาก            วินย                        นิสัย               มาจาก            นิสฺสย
                                    อนามัย            มาจาก            อนามย                    อาศัย              มาจาก            อาศย
                            ๒) ใช้เขียนคำบาลีสันสกฤตซึ่งประสมสระอะ  และมีตัว    สะกด  เช่น
                                                            อัยกา                      มาจาก                    อยฺยกา
                                                            อัยยิกา                    มาจาก                    อยฺยิกา
                  ๔. การใช้สระ ไ-
                            ๑) เขียนคำที่มาจากบาลลลลีสันสกฤต  ซึ่งเดิมเขียน  -ยฺย  เช่น
                                                    ไชย (เจริญ)                                  มาจาก                   เชยฺย
                                                    เวไนย (ผู้ที่อบรมสั่งสอนได้)       มาจาก                    เวเนยฺย
                                                    ไวยากรณ์                                      มาจาก                   เวยฺยากรณ
                                                    อสงไขย                                         มาจาก                   อสงฺเขยฺย
                                                    อธิปไตย                                        มาจาก                    อธิปเตยฺย
                                                    ไสย                                                มาจาก                    เสยฺย
                                                    สาไถย                                            มาจาก                    สาเถยฺย
                                                    ไทยทาน                                        มาจาก                     เทยฺยทาน
                            ๒) เขียนคำพิเศษบางคำ  เช่น  ไมยราบ (ต้นไม้ชนิดหนึ่ง)  ไอยรา (ช้าง  แผลงมาจาก
เอราวัณ)
                            ๓) เขียนคำไทย  ซึ่งหมายถึง  ประเทศหนึ่ง  ชนชาติหนึ่ง  และของเนื่องด้วยประเทศไทย  เช่น  ประเทศไทย  คนไทย  ไทยน้อย  ไทยใหญ่  พริกไทย  กล้วยน้ำไทย  น้ำอบไทย
                                ๔) เขียนคำไทย  ซึ่งหมายถึง  ความเป็นอิสระ  ความไม่เป็นทาส  เช่น  เป็นไทยแก่ตัว                   

11 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณกระทุ้นี้มากครับ เมื่อก่อนใช้ไม่ค่อยถูกเท่าไหร่

    ตอบลบ
  2. ไม่ชอบเลย

    ตอบลบ
  3. เข้าใจง่ายดีค่ะกะทัดรัดดีค่ะ

    ตอบลบ