วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำที่ประวิสรรชนีย์


หลักการประวิสรรชนีย์  (ประ = เขียน)  การประวิสรรชนีย์  หมายถึง  การเขียนรูปสระ  อะ  กำกับท้ายพยางค์เมื่อออกเสียงสระ  อะ  มีหลักดังนี้ 

                  ๑. คำไทยแท้ทุกคำให้ประวิสรรชนีย์  เช่น  ทะนุ  ทะนาน  จะ  นะ  ละ  คะ  สะ  กะ  ดะ  ขะ  ฯลฯ
                  ๒. คำที่มีพยางค์ท้ายออกเสียง  อะ  ต้องประวิสชนีย์  เช่น  ธุระ  พละ  ศิลปะ  สาธารณะ  วรรณะ  สุขะ  พละ  เป็นต้น
                  ๓. คำประสมบางคำ  เมื่อคำหน้ากร่อนลงเป็นเสียง  อะ  ให้ประวิสรรชนีย์  เช่น


                                            หมาก                                 กร่อนเป็น                     มะ  เช่น
                                            หมากพร้าว                            เป็น                           มะพร้าว
                                            หมากม่วง                               เป็น                           มะม่วง
                                            หมากขาม                               เป็น                           มะขาม
                                            ต้น                                      กร่อนเป็น                     ตะ  เช่น
                                            ต้นเคียน                                   เป็น                          ตะเคียน
                                            ต้นขาบ                                    เป็น                           ตะขาบ
                                            ต้นโก                                      เป็น                            ตะโก
                                            ตัว                                       กร่อนเป็น                       ตะ  เช่น
                                            ตัวเข็บ                                      เป็น                            ตะเข็บ
                                            ตัวขาบ                                     เป็น                             ตะขาบ
                                            คำกร่อนอื่นๆ  เช่น
                                            สาวใภ้                                      เป็น                             สะใภ้
                                            อันนั้น                                      เป็น                              อะนั้น
                                            ฉันนั้น                                      เป็น                              ฉะนั้น
                                            เฌอเอม                                     เป็น                               ฉะเอม
                                            ริกริก                                        เป็น                                ระริก
                                            คำนึง                                        เป็น                                 คะนึง
                                            สายดือ                                      เป็น                                 สะดือ
                  มีบางคำที่กร่อนลักษณะนี้แต่ไม่ประวิสรรชนีย์  เช่น
                                            อันหนึ่ง                                   เป็น                                   อนึ่ง
                                            ผู้ญาน                                      เป็น                                   พยาน
                  ๔. คำที่ออกเสียง  อะ  เต็มมาตรา  เช่น  กะทัดรัด  กะทันหัน  คะแนน  มะละกอ  สะดวก  สะอาด  สะเทือน  เป็นต้น
                  ๕. คำที่มีอักษรควบกับ    เมื่อออกเสียง  อะ  มักประวิสรรชนีย์  เช่น  กระป๋อง  ประกาศ  กระษัตริย์ (กษัตริย์) ตระกูล  เป็นต้น
                  ๖. คำที่ใช้    ในภาษาบาลี  และใช้  ปร  ในภาษาสันสกฤต  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยจะไม่ประวิสรรชนีย์  ที่หลัง    แต่จะประวิสรรชนีย์ที่หลัง  ปร  เช่น
                                            ปทุม                               เป็น                                        ประทุม
                                            ปทีป                               เป็น                                        ประทีป
                                            ปฐม                               เป็น                                        ประถม
                                            ปชา                                เป็น                                        ประชา           เป็นต้น
                  ๗. พยางค์กลางที่ออกเสียง  อะ  มักจะประวิสรรชนีย์  เพื่อให้อ่านสะดวก  เช่น  ฉุกละหุก  ชำมะนาด  สับปะรด  สาระแน  อาละวาด  เป็นต้น
                  ๘. คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำจะประวิสรรชนีย์ตรงพยางค์ที่ออกเสียง  อะ  เช่น  มะนิลา (ชื่อเมือง)  อาระเบีย  เตหะราน  อะแลสกา  เอดินบะระ  เป็นต้น
                
                  ตัวอย่างคำที่ประวิสรรชนีย์
                            กะทกรก  กะหนุงกะหนิง  กะโหลก  กระงกกระเงิ่น  กระง่อนกระแง่น  กะจก  กระจ้อยร่อย  ขะมักเขม้น  ขะมุกขะมอม  ขะเย้อแขย่ง  คะนอง  คะแนน  คะยั้นคะยอ  คระไล  จะเข้  จะงอย  จะละเม็ด  จะละหวั่น  ฉะฉาน  ฉะเฉื่อย  ฉะนั้น  ฉะอ้อน  ชะงัก  ชะเง้อ  ดะโต๊ะยุติธรรม  ดะหมัง  ตะกร้อ  ตะกรุด  ตะเฆ่  ตะบองเพชร  ตะเพิด  ตะไล  ตะแหลนแป๋น  ถะมัดถะแมง  ทะมึน  ทะแม่ง  ทะลัก  ทะลาย (ช่อมะพร้าว)  ทะวาย  บะหมี่  ปะแล่ม  ประกาศิต  ประทัด  ประพจน์  พะทำมะรง  พะเนิน  พะอง  พะอืดพะอม  ฟะฟ่าย  มะกะโรนี  มะเหงก  มะฮอกกานี  ยะแย้ง  ระแคะ  ระทด  ระหกระเหิน  ระอิดระอา  ละล่ำละลัก  ละว้า  ละหมาด  สะเต๊ะ  สะลึมสะลือ  สะสาง  อะคร้าว  อะร้าอร่าม  อะลุ่มอล่วย  อะไหล่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น