วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การใช้ ส ศ ษ

                  พยัญชนะทั้ง ๓  ตัวนี้  ในภาษาบาลีเรียก  พยัญชนะอุสุม  ซึ่งแปลว่า  ความร้อน  หรือความรู้สึกอย่างรุนแรง  แต่ในทางหลักภาษา  พยัญชนะอุสุม  หมายถึงพยัญชนะที่เวลาออกเสียงแล้วมีไอน้ำตามออกมาด้วย
                  เนื่องมาจากในภาษาไทยใช้พยัญชนะทั้ง ๓ ตัว  และการออกเสียง  สอ  เหมือนกัน  จึงทำให้สันสนมาก  และเขียนผิดเสมอ  จึงมีหลักสังเกตได้ดังนี้



                  ๑. การใช้   
                            ๑) ใช้เขียนคำไทยแท้  เช่น  สอง  สาม  สี่  เสื่อ  เสา  สาย  เสีย  สุก  สลบ  สลาย
                            ๒) ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลี  เช่น  สิริ  โอกาส  กิเลส  สามี  สัณฐาน  สาวก  สมาธิ
                            ๓) ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาเขมร  เช่น  กำสรวล  กันแสง  กระแส  สดำ  เสด็จ  สกาว  สลา  สยอง  เสวย
                            ๔) ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤต  ซึ่งใช้เขียนนำหน้าพยัญชนะวรรค  ตะ  คือ            หรือ    ตามหลังและนำหน้าเศษวรรคบางตัวได้  เช่น  พิสดาร  พัสดุ  สตรี  วาสนา  สถาน  พิสมัย  อัสดง
                           ๕) ใช้กับคำทีมาจากภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่เขียนเป็นรูปภาษาไทย  เช่น  สวิส  สเปรย์  สปริง  แสตมป์  สกรู  ออสเตรเลีย  สเปน  สปาย  อลาสก้า

                  ๒. การใช้ 
                            ๑) ส่วนมากใช้เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤต  เมื่อเสียง  “สอ”  อยู่หน้าพยัญชนะวรรค  จะ  คือ            ให้ใช้    เช่น  อัศจรรย์  พฤศจิกายน  อัศเจรีย์  ศีรษะ  ปริศนา  รัศมี  อาศรม  อัศวิน  ทรรศนะ   
                            ๒) ใช้เขียนคำไทยแท้บางคำ  เช่น  ศอก  ศึก  เศร้า  เศิก  ศก  พิศ  เลิศ
                            ๓) ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่นบางคำ  เช่น  ไอศกรีม  ฝรั่งเศส  ออฟฟิศ  โปลิศ

                  ๓. การใช้ 
                            ๑. ส่วนมากใช้เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤต  ถ้า  “สอ”  อยู่หน้าพยัญชนะวรรค  ฏะ คือ           ให้ใช้    เช่น  กฤษฎีกา  พิษณุ  อภิเษก  ทฤษฎี  ราษฎร  ดุษฎี  โฆษณา  ประดิษฐ์  ลักษณะ  อธิษฐาน
                            ๒. ใช้เขียนคำไทยแท้บางคำ  เช่น  ดาษ  ดาษดื่น  ฝีดาษ  เดียรดาษ  ดาษดา
                            ๓) ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่นบางคำ  เช่น  อังกฤษ  กระดาษ
                            ๔) ถ้า  “สอ”  ตามหลัง    ที่ไม่มีรูปสระกำกับหรือไม่ใช่อักษรนำในคำเดียวกันมักเขียนเป็น    เสมอ  เช่น  กษัตริย์  กษัย  เกษตร  เกษม  จักษุ  ทักษิน  ประจักษ์  ปรึกษา  พฤกษา  รักษา  ศึกษา  อักษร  ศึกษา

1 ความคิดเห็น: